นวดคลายเครียด
จุดนวดพื้นฐาน ส่วน คอ ศีรษะ
- แนวบ่า ๑ (แนวราวบ่าเกลียวคอ) เริ่มจากเหนือหัวไหล่มาตามแนวบ่า ขึ้นไปตามแนวข้างคอ
- แนวบ่า ๒ (แนวเหนือสะบักก้านคอ) เริ่มจากเหนือหัวไหล่มาตามแนวเหนือกระดูกสะบัก ขึ้นไปตามแนวชิดกระดูกคอ
- จุดใต้ไรผม อยู่ตรงรอยบุ๋มใต้กะโหลกทางด้านข้าง .
การกดนวด
การกดแต่ละจุด ให้ค่อย ๆ เพิ่มแรงกดจนเริ่มรู้สึกปวด นับ ๑-๑๐ แล้วค่อย ๆ ผ่อนออก กรณีที่เป็นแนวนวด แต่ละจุดอยู่ห่างกันประมาณ ๑ นิ้วมือ
ท่านวดตัวเองคลายเครียด

ท่าที่ ๑ ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดบีบแนวเหนือสะบักและแนวบ่า แล้วทำสลับข้าง

ท่าที่ ๒ ประสานมือเข้าด้วยกันบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง ๑ ข้าง กดตามแนวเกลียวคอและแนวก้านคอ

ท่าที่ ๓ ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง ๒ ข้าง กดจุดใต้ไรผม ๒ จุด
(กางข้อศอก จะทำให้มีน้ำหนักกด) พร้อม ๆ กัน ด้วยแรงพอสมควร
ท่าดัดตนคลายเครียด

1. นั่งขัดสมาธิ งอข้อศอกตั้งไว้ข้างหนึ่ง ให้มือจับบ่าด้านตรงข้าม ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อศอกไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อม ๆ กับดันข้อศอก เข้าหาตัวให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ทำสลับข้างทั้งซ้ายและขวา ท่านี้เป็นยืดข้อไหล่ เป็นท่าฤาษีดัดตน ซึ่งระบุว่า แก้ขัดแขน

ท่าที่ ๕ นั่งขัดสมาธิ งอศอกข้างหนึ่งไว้ทางด้านหลังของศีรษะ มืออีกข้างจับมือไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อม ๆ กับดึงข้อมือลงให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ทำสลับข้างทั้งซ้ายและขวา ท่านี้เป็นการยืดข้อไหล่

3. นั่งขัดสมาธิ มือข้างหนึ่งวางบนหน้าตักฝ่ามืออีกข้างวางไว้ใต้กกหู หายใจเข้า หายใจออก พร้อมกับดันมือทั้ง ๒ ข้าง (มือบนดันคอให้ศีรษะหันไปด้านข้าง มือล่างดันหน้าตัก) หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ และปวดศีรษะ เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมเวียนศีรษะ

4. นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง พนมมือระหว่างอก หายใจเข้า ค่อย ๆ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะออกแรงดันฝ่ามือเข้าหากัน ยืดลำตัว หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก ท่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอและสะบักช่วยบรรเทาอาการปวดคอ ปวดศีรษะ และปวดสะบัก เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้ลมปวดศีรษะ



5. นั่งขัดสมาธิ ประสานฝ่ามือไว้ที่หน้าอก หายใจเข้า หายใจออก เหยียดแขนไปข้างหน้า ในลักษณะหงายฝ่ามือที่ประสานกันออก หายใจเข้า ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ยืดตัวและแขนให้สุด หายใจเข้าออกปกติ ๓-๕ ครั้ง แล้วผ่อนออก และปล่อยแขนลงข้างลำตัว ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อแขนที่ใช้ในการงอข้อมือและนิ้วมือ และบริหารข้อไหล่ เป็นท่าฤาษีดัดตนซึ่งระบุว่า แก้เกียจ

ท่าที่ 1 : นวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่
ท่านี้เหมาะสาหรับผู้ที่รู้สึกอ่อนล้ากับการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ท่านี้จะเริ่มจากการใช้มือซ้ายนวดกดบริเวณไหล่ขวาส่วนที่รู้สึกตึงๆ โดยกดน้ำหนักทั้งบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ นับ 1-5 ประมาณ 3 ครั้งแล้วเปลี่ยนใช้มือขวานวดไหล่ซ้ายนับ 1-5 อีก 3 ครั้ง จะสามารถช่วยลดความรู้สึกอ่อนล้าในบริเวณไหล่และต้นคอได้ดี

ท่าที่ 2 : นวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ
ท่านี้เหมาะสาหรับการคลายเครียดและลดอาการตึงบริเวณต้นคอ โดยใช้มือวางลงที่ด้านหลังของลำคอ บีบและคลายประมาณ 5-10 ครั้งโดยลงน้ำหนักที่นิ้วมือและฝ่ามือ

ท่าที่ 3 : นวดใบหู
การนวดหูนอกจากจะช่วยให้รู้สึกสบายและผ่อนคลายแล้ว ยังสามารถจะช่วยบำรุงไตเพื่อให้ไตแข็งแรงอีกด้วย เริ่มจากการวางมือทั้งสองข้างไว้ที่หูทั้งสองข้าง โดยวางปลายนิ้วโป้งไว้ด้านหลังใบหู และนิ้วที่เหลือวางเพื่อประคองด้านหน้า และนวดคลึงใบหูให้ทั่ว นวดจนหูเริ่มรู้สึกอุ่น ก่อนปล่อยมือ ดึงใบหูออกด้านข้างเบาๆ นับ 1-3 แล้วค่อยๆปล่อยมือออก

ท่าที่ 4 : การนวดตา
ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสำหรับผู้ที่ใช้สายตาเยอะๆ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ใช้ปลายนิ้วโป้งกดบริเวณหัวตา กดค้างไว้นับ 1-6 และค่อยๆผ่อนน้ำหนักออก

ท่าที่ 5 : นวดหนังศีรษะ
ท่านวดนี้จะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของโลหิต และทำให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ทำให้มีการตื่นตัวของระบบประสาท เริ่มจากใช้มือสอดเข้าไปในเส้นผม ชิดติดหนังศีรษะ ค่อยๆ กำมือค้างไว้ จนรู้สึกตึงที่ศีรษะ นับ 1-3 แล้วเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนทั่วศีรษะ

ท่าที่ 6 : นวดบริเวณขมับ
ช่วยลดอาการตึงเครียด ช่วยลดอาการปวดศีรษะ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางกดคลึงบริเวณขมับเป็นวงกลมประมาณ 6 ครั้ง แล้วกดลงน้ำหนักค้างไว้ นับ 1-3 แล้วค่อยๆผ่อนน้ำหนักออก
Mind
Engagement with the world through healthy emotions and positive perspectives. Contributing to others and your community gives you a blissful hearth.
Body
Maintain a healthy body through exercise regularly, having low precessed food and nutrition, sleep well.
Soul
Quiet your mind through meditation creates a peaceful soul and promotes your awareness. Take time out to practice mindfulness activities. Explore your inner self and acceptance.

